วันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ชมรมครูแพทย์แผนไทย: ยินดีเผยแพร่ สื่อการสอนเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย

ชมรมครูแพทย์แผนไทย: ยินดีเผยแพร่ สื่อการสอนเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย

คัมภีร์ปฐมจินดา ลักษณะสตรีดีและชั่ว รสน้ำนมดีและชั่ว

http://khaowongthong.blogspot.com

แนะนำหนังสือสำหรับครูแพทย์แผนไทย

ผมเห็นว่าเป็นหนังสือดีเล่มหนึ่งที่ครูแพทย์แผนไทย ควรอ่านก่อนไปสอนเภสัชกรรมไทยครับ
                                            
                                           บทนำเขียนโดย อาจารย์หมอวิชัย
   
                                                   
                     
  ภายในมีหลากหลายเรื่องราว เกี่ยวกับยาสมุนไพรหลายชนิด ผมจะนำเนื้อหาและภาพมาลงบ่อยๆครับ
( ภาพดาวนฺ์โหลดช้ามาก ) สมาชิกท่านไหนมีข้อแนะนำบอกผมด้วยนะครับ

                                         

ยินดีเผยแพร่ สื่อการสอนเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย

ครูแพทย์แผนไทยที่ยังขาดสื่อการสอนเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย เช่น powerpoint หรือเอกสารหนังสืออะไร ก็บอกได้ครับ ( กรุณาฝากข่าวที่ " ความคิดเห็น" )

หากของผมมีและท่านต้องการเรื่องอะไร ยินดีเผยแพร่ครับ ทุกสาขาครับ
เช่น หนังสือแพทย์ศาสตร์นิทเทส ของขุนนิทเทศ,ตำราการแพทย์ไทยเดิม,ศัพท์แพทย์ไทย
และหนังสือเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย สมุนไพรอื่นๆ



                                     ซีดีโปรแกรม POWERPOINT ก็มีหลายชุด เช่น

                               

วันพฤหัสบดีที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การศึกษาวิชาแพทย์ ในสมัยเก่าก่อนดึกดำบรรพ์

การศึกษาวิชาแพทย์ ในสมัยเก่าก่อนดึกดำบรรพ์ 1

การอัญเชิญประวัติคัมภีร์แพทย์ อันเป็นตำรายาไทยหลายสมัยต่อมา ซึ่งสถิต ณ สถานที่ต่างกันมาชุมนุมไว้ในตำราเล่มนี้นั้น แม้แต่เพียงนามของพระคัมภีร์ก็เป็นการลำบากมาก เพราะการหาหลักฐานที่เกิดผู้เรียบเรียง และตำราเล่มใดเกิดก่อนหลังเมื่อใด ย่อมสุดปัญญาที่จะค้นคว้าหามาให้ถี่ถ้วนบริบูรณ์ จึงนำมกล่าวไว้ เฉพาะที่พอจะสอบสวนรวบรวมได้ โดยบอกลักษณะพระคัมภีร์นั้นๆ เพียงย่อ ๆ ทั้งนี้เพราะเห็นความจำเป็นว่า จะต้องเป็นความรู้พิเศษไว้ประดับสติปัญญา บรรดาท่านที่สนใจศึกษาวิชาเภสัชกรรมแผนโบราณ ซึ่งว่าโดยหน้าที่แล้ว เภสัชกรผู้ปรุงยา ต้องเรียนให้รู้จักตำราพระคัมภีร์แพทย์ต่างๆ ของดั้งเดิมทั้งหมดว่ามีกี่เล่ม ว่าด้วยโรคอะไรบ้าง แม้ว่าไม่ได้ใช้ตำรานั้น ก็ควรทรงไว้เป็นความรู้รอบตัวก็ยังดี จะได้ไม่ทำให้ท่านลืมเลือนตำราที่เคยมีชื่อเสียงมาแล้ว และยังคงกระจัดกระจายอยู่ถูกทำลายหายสูยไปง่าย ๆ อีกประการหนึ่ง เกรงว่าท่านนักศึกษารุ่นใหม่จะถูกหาว่า ท่านเป็นหมอไทย ที่ไม่รู้จักตำรายาไทย
อนึ่ง คำว่า พระคัมภีร์แพทย์ คัมภีร์แพทย์ พระตำราและตำราขอให้ผู้ศึกษาเข้าใจว่า ตามที่กล่าวไว้หลายแห่งไม่เหมือนกันนี้ แล้วแต่ความเหมาะสม คือตำรายา เดิมได้จารเป็นอักขระลงในใบลานเหมือนกับพระคัมภีร์ธรรมะ (คัมภีร์เทศน์) เมื่อเป็นเล่มลาน (ผูก) บรรจุวิชาแพทย์ จึงเรียกว่า คัมภีร์แพทย์ คัมภีร์เดิมโดยมากเป็นภาษาขอม-มคธ ท่านอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญได้แปลคัดลอกใหม่ลงในสมุดข่อย โบราณจึงเปลี่ยนแปลงเรียกใหม่ว่า ตำรา การที่ใช้คำนำ “พระ” ลงไปข้างหน้านั้น เหตุด้วยคัมภีร์แพทย์มีลักษณะคล้ายพระคัมภีร์ธรรมะอย่างหนึ่ง ท่านอดีตแพทย์เห็นควาามศักดิ์สิทธิ์ของตำรานั้นจึงเรียกนามยกย่องด้วยความเคารพบูชาอย่างหนึ่ง สมัยนั้นเจ้านายก็เป็นแพทย์กันแทบทุกพระองค์ ตำรับตำราได้ถูกนำถวายไว้ในวังมาก เมื่อได้ประทานใครมาก เป็นพระตำราไปหมด แม้ที่สุดพระมหากษัตริย์ก็ยังทรงมี คลังยา คลังพระตำรา ซึ่งเรียกว่าคลังพระตำราข้างพระที่ และยังมีคำต่อท้ายว่าหลวงลงไปอีก ขอท่านผู้ศึกษาจงเข้าใจว่า พระคัมภีร์แพทย์ พระตำราหลวง ก็คือ ตำราแพทย์นั่นเอง
การศึกษาวิชาแพทย์ ในสมัยเก่าก่อนดึกดำบรรพ์นั้น สานุศิษย์ผู้ที่จะได้รับการถ่ายทอดวิชาจากท่านครูอาจารย์นั้น ต้องอาศัยการต่อปากต่อคำจากท่านอาจารย์เองแล้วก็นำมาท่องบ่นจนขึ้นใจ ทั้งต้องเป็นผู้ปรนนิบัติ รับใช้ใกล้ชิดติดหน้าตามหลังเรียกว่าศิษย์ต้นกุฏิคอยช่วยปฎิบัติหัดงานทุกอย่างตลอดจนการนวดเฟ้นให้อาจารย์ และการเรียนวิชาการแพทย์ ครั้งนั้น มิใช่ของง่าย ผู้ศึกษาต้องตรากตรำทำงานทั้งส่วนตัว และให้อาจารย์กับท่องจำวิชา นับว่าต้องเป็นผู้มีปฏิภาณเฉียบแหลมจริง ๆ จึงจะจดจำนำมาใช้ได้ถูกต้อง แม้กระนั้นก็ยังมีท่าน บุรพาจารย์ผู้สละความสุขจากบ้าน เที่ยวจาริกเสาะหาเวชวิชาการ ศึกษามาด้วยความลำบากตรากตรำมาตั้งหลาย ๆ ปี จนเป็นผู้ทรงคุณธรรมสามารถท่องบ่น จดจำถ่ายทอดวิชาแพทย์เหล่านั้นต่อมา จนถึงสมัยที่อักขระอักษรเจริญแล้ว ท่านจึงได้จดจารึกบันทึกไว้ ณ ที่ต่าง ๆ เช่น แกะไว้ในแผ่นหินและโลหะเป็นต้น ความหวังของท่านก็เพื่อจะให้วิชาแพทย์นั้นคงทนถาวรไม่เสื่อมสูญ ดุจแผ่นหินและโลหะนั้นๆ วิชาแพทย์จึงได้แพร่หลายมาถึงสมัยคัมภีร์ใบลานและสมุดข่อย แล้วคัดลอกมาลงไว้เรียกว่าคัมภีร์ หรือตำราอันว่าพระคัมภีร์แพทย์นั้นท่านกล่าวไว้ จำแนกไว้ สุดแต่ความเชี่ยวชาญของพระอาจารย์แต่ละท่าน มีกล่าวถึงอาการของโรค วิธีรักษา ตำรายาที่ต้องใช้ และสรรพคุณยาไว้พร้อมมูล แม้จะมีการกล่าวไว้ซ้ำกัน บ้างก็คนละทัศนะ ซึ่งมีจุดหมายปลายทางอย่างเดียวกัน ดังเช่น

๑. พระคัมภีร์ประถมจินดา มีหลายบท เช่นกล่าวถึงพรหมปุโรหิต แรกปฐมกาล-การ ปฏิสนธิแห่งทารก-กำเนิดโลหิตระดูสตรีครรภทวารกำเนิด โรคกุมารและยารักษา
๒. พระคัมภีร์ฉันทศาสตร์ กล่าวถึง จรรยาของแพทย์ทับ ๘ ประการ-โรคซาง-สมุฏฐาน แห่งไข้-อติสารมรณญาณสูตร
๓. พระคัมภีร์ธาตุวิภังค์ กล่าวถึงกองธาตุพิการตามฤดู
๔. พระคัมภีร์สมุฏฐานวินิจฉัย กล่าวถึงการค้นหาต้นเหตุการเกิดของโรค
๕. พระคัมภีร์โยคสาร (แพทยาลังกา) ของอมรเสกมหาอำมาตย์ กล่าวถึงรสยาและ ลักษณะนิมิตร้ายดี
๖. พระคัมภีร์มหาโชตรัต ของพระอาจารย์ท้าวสหัมบดีพรหมกล่าวถึงโรคระดูสตรี
๗. พระคัมภีร์ชวดาร กล่าวถึงพิษอาหารทำให้ลมโลหิตกำเริบ
๘. พระคัมภีร์โรคนิทาน ของพระอาจารย์โกมารภัจ กล่าวถึงกองธาตุทั้งสี่มีเกิน-หย่อน หรือพิการ
๙. พระคัมภีร์ธาตุวิวรณ์ กล่าวถึงกองธาตุทั้งสี่ โรคโลหิตระดูสตรี
๑๐. พระคัมภีร์ธาตุบรรจบ ของพระอาจารย์โกรมารภัจกล่าวถึงโรคอุจจารธาตุ
๑๑. พระคัมภีร์มุจฉาปักขัณฑา กล่าวถึงโรคปัสสาวะมุตกิดมุตฆาต
๑๒. พระคัมภีร์ตักกสิลา กล่าวถึงบรรดาไข้พิษทั้งปวง
๑๓. พระคัมภีร์กษัย กล่าวถึงโรคกษัย ๒๖ ประการ
๑๔. พระคัมภีร์อภัยสันตา กล่าวถึงกำเนิดไข้ โรคซางและตาทุกชนิด
๑๕. พระคัมภีร์มัญขุสารวิเชียร กล่าวถึงโรคลม ๑๐ ประการ
๑๖. พระคัมภีร์อติสาร กล่าวถึงโรคอุจจาระร่วง
๑๗. พระคัมภีร์มุขโรค กล่าวถึงโรคในปากและคอ ๑๙ ประการ
๑๘. พระคัมภีร์จะละนะสังคหะ กล่าวถึงลักษณะอุจจารธาตุ ๔ ประการ
๑๙. พระคัมภีร์วารโยคสาร กล่าวถึงลักษณะนิมิตดีร้าย ๓๐ ประการ (คล้ายวรโยคสาร)
๒๐. พระคัมภีรธาตุอภิญญา กล่าวถึงลักษณะโรคที่เกิดกับธาตุ ๔ มี ๓ ประการ
เขียนโดย www.boelan.com

วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ชมรมครูแพทย์แผนไทย

ขอเชิญครูแพทย์แผนไทย ทั้งอดีต ปัจจุบัน และครูแพทย์แผนไทยในอนาคต มารวมตัวกัน หรือร่วมแสดงความเห็น ข้อเสนอแนะ
ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการแพทย์แผนไทยทุกๆด้านด้วยจรรยาบรรณของครูแพทย์แผนไทย โดยไม่หวังจะได้ค่าตอบแทนเป็นทรัพย์สิน
แต่ได้ความสุขใจ


ชลิต
บว. บผ. บภ. พท.บ.

วันอาทิตย์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การสอบขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนไทย


ข้อปฏิบัติในการยื่นใบมอบตัวศิษย์ และคำขอสอบขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนไทย
ก. การยื่นใบมอบตัวศิษย์
การยื่นใบมอบตัวศิษย์สาขาการแพทย์แผนไทย ตามข้อ 4 แห่งกฎกระทรวงมหาดไทยออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบ
โรคศิลปะ พุธศักราช 2479 ซึ่งยังมีผลใช้บังคับตามมาตรา 67 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542 กำหนดให้ผู้ยื่น
คำขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประเภทต่างๆ ต้องยื่นใบมอบตัวศิษย์เพื่อแสดงว่าได้เข้ารับการอบรม
ศึกษาวิชาการแพทย์แผนไทยไว้กับครู โดยผู้ยื่นคำขอไม่ต้องมีคุณสมบัติที่กำหนดว่า ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์


* สำหรับผู้มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นใบมอบตัวศิษย์ด้วยตนเองที่สำนักมาตรฐานสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ พร้อมด้วย
หลักฐานดังต่อไปนี้
1. ใบมอบตัวศิษย์แต่ละสาขาๆละ 1 ฉบับ ติดภาพถ่ายที่มุมล่างด้านขวามือของใบมอบตัวศิษย์ ( รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว สาขาละ 1 รูป ห้ามใช้รูปถ่าย
ชนิดโพลารอยด์ )
2. ภาพถ่ายทะเบียนบ้านของครูผู้ให้การอบรม ( รับรองสำเนาด้วย )
3. ภาพถ่ายทะเบียนบ้านของศิษย์ ( รับรองสำเนาด้วย )
4. ภาพถ่ายหนังสือรับรองของครูที่ได้ผ่านการอบรมสัมมนาเพื่อพัฒนาแนวการสอนของครูผู้รับมอบตัวศิษย์ ( รับรองสำเนาด้วย )


* สำหรับผู้มีภูมิลำเนาในส่วนภูมิภาค ให้ยื่นใบมอบตัวศิษย์ ดังนี้
ให้ยื่นใบมอบตัวศิษย์และเอกสารตามข้อ 1 - 4 ข้างต้น ในเขตที่ผู้มอบตัวศิษย์มีภูมิลำเนาอยู่ และให้ทำสาขาละ 4 ชุด เพื่อให้ อำเภอ 1 ชุด จังหวัด 1 ชุด
หลักฐานที่เป็นตัวจริงให้ส่งกองการประกอบโรคศิลปะ 1 ชุด และผู้สมัครเก็บไว้เอง 1 ชุด เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการสมัครสอบ ต่อไป


* หมายเหตุ ก่อนที่จะนำใบมอบตัวศิษย์ไปยื่นต่อทางราชการ ครูผู้ให้การอบรมศึกษาและศิษย์ ต้องกรอกรายละเอียดในใบมอบตัวศิษย์ให้เรียบร้อยและ
ครบถ้วนลงนามผู้ขอฯและลงนามครูผู้ให้การอบรม
- ครูผู้ประกอบโรคศิลปะประเภทเวชกรรมไทย มีสิทธิรับรองการอบรมได้ทั้งประเภทเวชกรรมไทยและประเภทเภสัชกรรมไทย
- ครูผู้ประกอบโรคศิลปะประเภทเภสัชกรรมไทย หรือประเภทการผดุงครรภ์ไทย จะรับรองการอบรมได้เฉพาะสาขาที่ตนได้รับใบประกอบโรคศิลปะเท่านั้น
ครูและศิษย์ต้องมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดหรือเขตการสอบเดียวกัน



ข. การนับเวลาการอบรมตามใบมอบตัวศิษย์
สมรศ. จะถือวันที่ที่ทางสำนักงานสาธารณสุขอำเภอหรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลงรับใบมอบตัวศิษย์ของผู้นั้นเป็นวันที่เริ่มนับการอบรมศึกษา
ส่วนผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร จะถือวันที่ที่สมรศ.(กองการประกอบโรคศิลปะ)ลงรับใบมอบตัวศิษย์ของผู้นั้นเป็นวันเริ่มนับการอบรมศึกษา
ทั้งนี้ ในส่วนภูมิภาค ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดส่งเรื่องถึงสมรศ.ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ หรือ
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดได้ลงรับแล้วแต่กรณี โดยขอให้ทางจังหวัดลงประทับตราเลขที่รับที่มุมบนขวามือด้วยทุกครั้ง หากไม่ประทับตราวันที่
ลงรับ สมรศ.จะถือเอาวันที่ส่งหนังสือของจังหวัดเป็นวันเริ่มต้นการอบรม


ระยะเวลาการอบรม
1. ประเภทเวชกรรมไทย ต้องเป็นผู้ได้รับการอบรมศึกษาเป็นเวลาสืบเนื่องกันไม่น้อยกว่า 3 ปี จากผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย
ประเภทเวชกรรมไทย
2. ประเภทเภสัชกรรมไทย ต้องเป็นผู้ได้รับการอบรมศึกษาเป็นเวลาสืบเนื่องกันไม่น้อยกว่า 1 ปี จากผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย
ประเภทเวชกรรมไทย หรือเภสัชกรรมไทย
3. ประเภทการผดุงครรภ์ไทย ต้องเป็นผู้ได้รับการอบรมศึกษาเป็นเวลาสืบเนื่องกันไม่น้อยกว่า 1 ปี จากผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย
ประเภทผดุงครรภ์ไทย
ค. การสมัครสอบ
เมื่อผู้ยื่นใบมอบตัวศิษย์ได้ยื่นใบมอบตัวศิษย์จนครบกำหนดระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว จึงจะมีสิทธิยื่นคำขอสอบขึ้นทะเบียน
และรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ โดยจะต้องยื่นหลักฐานต่างๆ ดังนี้
1. กรอกรายละเอียดในคำขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาละ 1 ฉบับ และลงลายมือชื่อผู้ขอฯ ( ตามแบบ ร.ศ. 1 )
2. ใบรับรองแพทย์ครบ 7 โรค คือ ( อยู่ด้านหลังแบบร.ศ. 1 )
- โรคเรื้อน
- วัณโรคระยะอันตราย
- โรคติดยาเสพติดให้โทษ
- โรคพิษสุราเรื้อรัง
- โรคจิตต่างๆ
- โรคคุดทะราดหรือโรคผิวหนังอันเป็นที่น่ารังเกียจ
- กามโรคระยะที่ 2 หมายถึงระยะที่มีผื่นหรือแผลตามผิวหนัง
3. ใบรับรองความประพฤติ ที่รับรองโดยข้าราชการตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป หรือนายทหารหรือนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรขึ้นไป
หรือู้ที่ผู้อำนวยการกองการประกอบโรคศิลปะเห็นสมควร
4. ภาพถ่ายทะเบียนบ้าน ( ต้องรับรองสำเนาด้วย ) สาขาละ 1 ฉบับ
5. ภาพถ่ายขนาด 2 นิ้ว ( 4 x 5 เซ็นติเมตร ) หน้าตรง ท่าปกติ ไม่สวมหมวก หรือแว่นตา ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน สาขาละ 3 ภาพ และห้ามใช้รูปถ่าย
ชนิดโพลารอยด์
6. ภาพถ่ายใบมอบตัวศิษย์แต่ละสาขา ( รับรองสำเนาด้วย )
7. ต้องยื่นคำขอภายในวันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี

* ถ้ากรณีครบสอบจะต้องมี
8. ใบรายงานความรู้ความชำนาญ
9. ใบรายงานแสดงคนไข้ฯ ( ประเภทเวชกรรมไทย และประเภทการผดุงครรภ์ไทย )
10. ใบรายงานการปรุงยา ฯ ( ประเภทเภสัชกรรมไทย )
11. ให้ผู้เข้าสอบส่งซองเปล่าติดแสตมป์ราคา 3 บาท พร้อมจ่าหน้าซองถึงตัวเอง ตามที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ ส่งให้กองการประกอบโรคศิลปะ
จำนวน 3 ซอง พร้อมกับคำขอสอบ เพื่อความสะดวกในการติดต่อในกรณีที่ผู้ขอสมัครสอบ ส่งหลักฐานบกพร่องหรือผู้สมัครสอบสามารถสอบได้


* การยื่นคำขอสอบแก้ตัว ถ้าผู้ที่เคยสอบความรู้มาแล้วแต่สอบไม่ผ่านในการสอบแต่ละครั้ง ประสงค์จะขอสอบแก้ตัว ให้ยื่นหลักฐานตามข้อ 1-7 และ
ข้อ 11 ข้างต้น

* การยื่นคำขอสอบ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จะต้องยื่นคำขอสอบภายในวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี โดยจะถือวันลงรับในส่วนภูมิภาค ที่
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และให้ส่งถึงกองการประกอบโรคศิลปะภายใน 30 วัน นับแต่สำนักงานสาธารณสุข
อำเภอหรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดได้ลงรับแล้วแต่กรณี ( การปฏิบัติลงประทับตราเลขที่รับเหมือนข้อ 3 ) สำหรับในส่วนกลางให้ยื่นที่กองการ
ประกอบโรคศิลปะ

* ผู้ไม่มีสิทธิเข้าสอบคือ
1. ผู้ที่ไม่ได้ยื่นใบมอบตัวศิษย์
2. ผู้ที่ใบมอบตัวศิษย์ไม่ครบกำหนด
3. ผู้ที่ไม่มีชื่อในบัญชีเข้าสอบ
4. ผู้ที่เป็นนักพรต นักบวช หรือแม่ชี


ง. ข้อปฏิบัติอื่นๆ
1. การยื่นคำขอขึ้นทะเบียน ให้ยื่นต่อสถานที่ที่กำหนดเช่นเดียวกับการยื่นใบมอบตัวศิษย์
ส่วนกลาง - ยื่นที่กองการประกอบโรคศิลปะ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ส่วนภูมิภาค - ยื่นที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่ตนมีภูมิลำเนาอยู่
2. ผู้ที่ยื่นใบมอบตัวศิษย์ไว้จนครบระยะเวลาการอบรมศึกษา หรือผู้ที่เคยสอบความรู้มาแล้วแต่สอบไม่ได้ หากย้ายภูมิลำเนาไปอยู่ ณ จังหวัดใด และ
ประสงค์จะสอบความรู้หรือขอสอบแก้ตัว ให้ยื่นหลักฐานต่อเจ้าหน้าที่ตามรายละเอียดในข้อ ก และ ข แล้วแต่กรณี โดยหมายเหตุท้ายคำขอขึ้น
ทะเบียนว่า เคยยื่นใบมอบตัวศิษย์ไว้ ณ จังหวัดใด และปี พ.ศ. ใด ด้วย

การแพทย์แผนไทย

การแพทย์แผนไทย

เป็นวิชาชีพหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของคนไทย ที่มีความสำคัญและอยู่คู่กับสังคมไทยมาตั้งแต่อดีต ซึ่งมีความเฉพาะในสังคมไทย เป็นการแพทย์ที่อาศัยความรู้และภูมิปัญญาของคนไทยที่ได้ทดลอง ปฏิบัติจริงแล้วได้ผล แล้วจึงสะสมถ่ายทอดสืบต่อกันมา การแพทย์แผนไทยมีประวัติและวิวัฒนาการควบคู่กันกับการมีประวัติศาสตร์ของชาติไทย มีหลักฐานปรากฏให้เห็นในทุกยุคทุกสมัยตั้งแต่ก่อนอาณาจักรสุโขทัย สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์

การพัฒนางานด้านการแพทย์แผนไทย
เป็นงานที่มีหลักการเหตุผลที่ชัดเจนในการที่จะทำให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้ทางด้านสุขภาพ ระดับบุคคล ระดับครอบครัว ระดับชุมชน และระดับชาติ โดยรัฐมีความพยายามที่จะให้ประชาชนตระหนักถึงหลักในการพึ่งตนเอง และเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลเรื่องสุขภาพอนามัยของคนในชุมชนด้วยวิธีทางการแพทย์แผนไทย

ทิศทางในการพัฒนาวิชาชีพการแพทย์แผนไทย
ได้มีการกำหนดนโยบายที่ชัดเจนที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วมและใช้องค์ความรู้ ภูมิปัญญาและทรัพยากรในท้องถิ่น ด้านการดูแลสุขภาพ ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 ( พ. ศ. 25825-2539 ) ซึ่งสมัยนั้นได้มีการระดมวิชาการต่างๆทั้งแผนปัจจุบันและแผนโบราณมาคักเลือกองค์ความรู้ ภูมิปัญญา ท้องถิ่นที่ทรงคุณค่าและมีประโยชน์สอดคล้องกับการดำรงชีวิตของประชาชนโดยมีการส่งเสริมให้มีการประยุกต์ใช้ในสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ


การที่จะพัฒนาการแพทย์แผนไทยสู่สากล
จะต้องทราบรายละเอียดการแพทย์และการสาธารณสุขของประเทศต่างๆที่เป็นคู่ค้าในโลกก่อนแล้วนำจุดเด่นของการแพทย์แผนไทยมาปรับแทรกช่องทางการตลาดต่อไป
หลังจากที่รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และสุขภาพของทวีปเอเชียแล้ว ได้มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้การแพทย์แผนไทยมีสถานภาพดีขึ้น มีการยอมรับมากขึ้น ทั้งจากความโดดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์และวิธีการในการรักษาโรคแบบองค์รวมที่เป็นธรรมชาติบำบัดของการแพทย์แผนไทยถูกนำมาใช้นำวิธีการตลาดได้ โดยที่การแพทย์แผนอื่นๆในโลกนี้ไม่มีเหมือน การวางแผนและการพัฒนาการแพทย์แผนไทยสู่สากล ต้องมีความพร้อมทุกด้านตั้งแต่ ข้อมูล ผลการวิจัยและการวางมาตรฐาน เพื่อจะได้ส่งเสริมให้การแพทย์แผนไทยเป็นที่นิยมอย่างประทับใจและกว้างขวาง จึงควรรวบรวมข้อมูลที่บ่งบอกถึงประสิทธิภาพในการใช้ วิธีการใช้และประโยชน์จากการใช้ ความปลอดภัยจากการใช้รักษาโรค ซึ่งทุกข้อมูลสามารถใช้เป็นประโยชน์สำหรับการหาช่องทางในการวางยุทธศาสตร์และการวิธีการตลาดระหว่างประเทศได้



ผู้ที่ประกอบอาชีพเป็นแพทย์แผนไทยที่สมบูรณ์แบบ จะต้องมีบทบาทหน้าที่ในการประกอบวิชาชีพ 4 ด้านคือ
1. เวชกรรมไทย : ทำหน้าที่ในการตรวจวินิจฉัยโรค เพื่อหาสาเหตุของการเกิดโรคตามทฤษฎีและหลักการของการแพทย์แผนไทย จากนั้นให้การรักษาตามกรรมวิธีของการแพทย์แผนไทย ซึ่งส่วนใหญ่ มักให้การรักษาด้วยยาแผนไทย หรือยาสมุนไพร
2. เภสัชกรรมไทย : การทำหน้าที่เตรียมยา และ/หรือผลิตยาแผนไทย ซึ่งมีกรรมวิธีในการเตรียมยาทั้งหมด 28 วิธี อาทิ เช่น การเตรียมยาผง ยานัตถุ์ ยาลูกกลอน ยาเม็ดแคปซูล เป็นต้น
3. ผดุงครรภ์ไทย : เป็นการทำหน้าที่ในการดูแลสุขภาพของมารดาและเด็กในหญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่ก่อนคลอดและหลังคลอด ในสมัยก่อนจะต้องทำคลอดให้กับหญิงตั้งครรภ์ด้วย แต่ในปัจจุบันนี้ บทบาทหน้าที่ในการทำคลอดมีน้อยลง แต่เน้นในการดูแลสุขภาพของหญิงหลังคลอดมากขึ้น
4. นวดไทย : ทำหน้าที่ในการรักษา บรรเทาอาการของผู้ป่วยด้วยการนวด และอาจมีการใช้ยากินสมุนไพรควบคู่ไปด้วย

ในการประกอบโรคศิลปะการแพทย์แผนไทย ตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 นั้น จะมีใบประกอบโรคศิลปะ 4 สาขา คือ สาขาเวชกรรมไทย (เป็นสาขาที่สามารถทำหน้าที่ได้ทั้งเวชกรรมไทย เภสัชกรรมไทย ผดุงครรภ์ไทย และนวดไทย) สาขาเภสัชกรรมไทย สาขาผดุงครรภ์ไทย และสาขานวดไทย โดยผู้ที่จะสามารถประกอบโรคศิลปะในแต่ละสาขาได้นั้น จะต้องสอบผ่านและได้รับใบประกอบโรคศิลปะในสาขานั้น ๆ บุคคลทั่วไปที่ไม่มีใบประกอบโรคศิลปะ ไม่สามารถประกอบอาชีพเหล่านั้นได้ การได้มาซึ่งใบประกอบโรคศิลปะในแต่ละสาขานั้น ไม่จำเป็นที่จะต้องได้ครบทั้ง 4 สาขาจึงจะประกอบโรคศิลปะได้ ใครได้สาขาอะไรก็สามารถประกอบโรคศิลปะในสาขานั้น ๆ ได้
CHALITK