วันอาทิตย์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การสอบขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนไทย


ข้อปฏิบัติในการยื่นใบมอบตัวศิษย์ และคำขอสอบขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนไทย
ก. การยื่นใบมอบตัวศิษย์
การยื่นใบมอบตัวศิษย์สาขาการแพทย์แผนไทย ตามข้อ 4 แห่งกฎกระทรวงมหาดไทยออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบ
โรคศิลปะ พุธศักราช 2479 ซึ่งยังมีผลใช้บังคับตามมาตรา 67 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542 กำหนดให้ผู้ยื่น
คำขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประเภทต่างๆ ต้องยื่นใบมอบตัวศิษย์เพื่อแสดงว่าได้เข้ารับการอบรม
ศึกษาวิชาการแพทย์แผนไทยไว้กับครู โดยผู้ยื่นคำขอไม่ต้องมีคุณสมบัติที่กำหนดว่า ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์


* สำหรับผู้มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นใบมอบตัวศิษย์ด้วยตนเองที่สำนักมาตรฐานสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ พร้อมด้วย
หลักฐานดังต่อไปนี้
1. ใบมอบตัวศิษย์แต่ละสาขาๆละ 1 ฉบับ ติดภาพถ่ายที่มุมล่างด้านขวามือของใบมอบตัวศิษย์ ( รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว สาขาละ 1 รูป ห้ามใช้รูปถ่าย
ชนิดโพลารอยด์ )
2. ภาพถ่ายทะเบียนบ้านของครูผู้ให้การอบรม ( รับรองสำเนาด้วย )
3. ภาพถ่ายทะเบียนบ้านของศิษย์ ( รับรองสำเนาด้วย )
4. ภาพถ่ายหนังสือรับรองของครูที่ได้ผ่านการอบรมสัมมนาเพื่อพัฒนาแนวการสอนของครูผู้รับมอบตัวศิษย์ ( รับรองสำเนาด้วย )


* สำหรับผู้มีภูมิลำเนาในส่วนภูมิภาค ให้ยื่นใบมอบตัวศิษย์ ดังนี้
ให้ยื่นใบมอบตัวศิษย์และเอกสารตามข้อ 1 - 4 ข้างต้น ในเขตที่ผู้มอบตัวศิษย์มีภูมิลำเนาอยู่ และให้ทำสาขาละ 4 ชุด เพื่อให้ อำเภอ 1 ชุด จังหวัด 1 ชุด
หลักฐานที่เป็นตัวจริงให้ส่งกองการประกอบโรคศิลปะ 1 ชุด และผู้สมัครเก็บไว้เอง 1 ชุด เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการสมัครสอบ ต่อไป


* หมายเหตุ ก่อนที่จะนำใบมอบตัวศิษย์ไปยื่นต่อทางราชการ ครูผู้ให้การอบรมศึกษาและศิษย์ ต้องกรอกรายละเอียดในใบมอบตัวศิษย์ให้เรียบร้อยและ
ครบถ้วนลงนามผู้ขอฯและลงนามครูผู้ให้การอบรม
- ครูผู้ประกอบโรคศิลปะประเภทเวชกรรมไทย มีสิทธิรับรองการอบรมได้ทั้งประเภทเวชกรรมไทยและประเภทเภสัชกรรมไทย
- ครูผู้ประกอบโรคศิลปะประเภทเภสัชกรรมไทย หรือประเภทการผดุงครรภ์ไทย จะรับรองการอบรมได้เฉพาะสาขาที่ตนได้รับใบประกอบโรคศิลปะเท่านั้น
ครูและศิษย์ต้องมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดหรือเขตการสอบเดียวกัน



ข. การนับเวลาการอบรมตามใบมอบตัวศิษย์
สมรศ. จะถือวันที่ที่ทางสำนักงานสาธารณสุขอำเภอหรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลงรับใบมอบตัวศิษย์ของผู้นั้นเป็นวันที่เริ่มนับการอบรมศึกษา
ส่วนผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร จะถือวันที่ที่สมรศ.(กองการประกอบโรคศิลปะ)ลงรับใบมอบตัวศิษย์ของผู้นั้นเป็นวันเริ่มนับการอบรมศึกษา
ทั้งนี้ ในส่วนภูมิภาค ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดส่งเรื่องถึงสมรศ.ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ หรือ
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดได้ลงรับแล้วแต่กรณี โดยขอให้ทางจังหวัดลงประทับตราเลขที่รับที่มุมบนขวามือด้วยทุกครั้ง หากไม่ประทับตราวันที่
ลงรับ สมรศ.จะถือเอาวันที่ส่งหนังสือของจังหวัดเป็นวันเริ่มต้นการอบรม


ระยะเวลาการอบรม
1. ประเภทเวชกรรมไทย ต้องเป็นผู้ได้รับการอบรมศึกษาเป็นเวลาสืบเนื่องกันไม่น้อยกว่า 3 ปี จากผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย
ประเภทเวชกรรมไทย
2. ประเภทเภสัชกรรมไทย ต้องเป็นผู้ได้รับการอบรมศึกษาเป็นเวลาสืบเนื่องกันไม่น้อยกว่า 1 ปี จากผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย
ประเภทเวชกรรมไทย หรือเภสัชกรรมไทย
3. ประเภทการผดุงครรภ์ไทย ต้องเป็นผู้ได้รับการอบรมศึกษาเป็นเวลาสืบเนื่องกันไม่น้อยกว่า 1 ปี จากผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย
ประเภทผดุงครรภ์ไทย
ค. การสมัครสอบ
เมื่อผู้ยื่นใบมอบตัวศิษย์ได้ยื่นใบมอบตัวศิษย์จนครบกำหนดระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว จึงจะมีสิทธิยื่นคำขอสอบขึ้นทะเบียน
และรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ โดยจะต้องยื่นหลักฐานต่างๆ ดังนี้
1. กรอกรายละเอียดในคำขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาละ 1 ฉบับ และลงลายมือชื่อผู้ขอฯ ( ตามแบบ ร.ศ. 1 )
2. ใบรับรองแพทย์ครบ 7 โรค คือ ( อยู่ด้านหลังแบบร.ศ. 1 )
- โรคเรื้อน
- วัณโรคระยะอันตราย
- โรคติดยาเสพติดให้โทษ
- โรคพิษสุราเรื้อรัง
- โรคจิตต่างๆ
- โรคคุดทะราดหรือโรคผิวหนังอันเป็นที่น่ารังเกียจ
- กามโรคระยะที่ 2 หมายถึงระยะที่มีผื่นหรือแผลตามผิวหนัง
3. ใบรับรองความประพฤติ ที่รับรองโดยข้าราชการตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป หรือนายทหารหรือนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรขึ้นไป
หรือู้ที่ผู้อำนวยการกองการประกอบโรคศิลปะเห็นสมควร
4. ภาพถ่ายทะเบียนบ้าน ( ต้องรับรองสำเนาด้วย ) สาขาละ 1 ฉบับ
5. ภาพถ่ายขนาด 2 นิ้ว ( 4 x 5 เซ็นติเมตร ) หน้าตรง ท่าปกติ ไม่สวมหมวก หรือแว่นตา ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน สาขาละ 3 ภาพ และห้ามใช้รูปถ่าย
ชนิดโพลารอยด์
6. ภาพถ่ายใบมอบตัวศิษย์แต่ละสาขา ( รับรองสำเนาด้วย )
7. ต้องยื่นคำขอภายในวันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี

* ถ้ากรณีครบสอบจะต้องมี
8. ใบรายงานความรู้ความชำนาญ
9. ใบรายงานแสดงคนไข้ฯ ( ประเภทเวชกรรมไทย และประเภทการผดุงครรภ์ไทย )
10. ใบรายงานการปรุงยา ฯ ( ประเภทเภสัชกรรมไทย )
11. ให้ผู้เข้าสอบส่งซองเปล่าติดแสตมป์ราคา 3 บาท พร้อมจ่าหน้าซองถึงตัวเอง ตามที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ ส่งให้กองการประกอบโรคศิลปะ
จำนวน 3 ซอง พร้อมกับคำขอสอบ เพื่อความสะดวกในการติดต่อในกรณีที่ผู้ขอสมัครสอบ ส่งหลักฐานบกพร่องหรือผู้สมัครสอบสามารถสอบได้


* การยื่นคำขอสอบแก้ตัว ถ้าผู้ที่เคยสอบความรู้มาแล้วแต่สอบไม่ผ่านในการสอบแต่ละครั้ง ประสงค์จะขอสอบแก้ตัว ให้ยื่นหลักฐานตามข้อ 1-7 และ
ข้อ 11 ข้างต้น

* การยื่นคำขอสอบ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จะต้องยื่นคำขอสอบภายในวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี โดยจะถือวันลงรับในส่วนภูมิภาค ที่
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และให้ส่งถึงกองการประกอบโรคศิลปะภายใน 30 วัน นับแต่สำนักงานสาธารณสุข
อำเภอหรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดได้ลงรับแล้วแต่กรณี ( การปฏิบัติลงประทับตราเลขที่รับเหมือนข้อ 3 ) สำหรับในส่วนกลางให้ยื่นที่กองการ
ประกอบโรคศิลปะ

* ผู้ไม่มีสิทธิเข้าสอบคือ
1. ผู้ที่ไม่ได้ยื่นใบมอบตัวศิษย์
2. ผู้ที่ใบมอบตัวศิษย์ไม่ครบกำหนด
3. ผู้ที่ไม่มีชื่อในบัญชีเข้าสอบ
4. ผู้ที่เป็นนักพรต นักบวช หรือแม่ชี


ง. ข้อปฏิบัติอื่นๆ
1. การยื่นคำขอขึ้นทะเบียน ให้ยื่นต่อสถานที่ที่กำหนดเช่นเดียวกับการยื่นใบมอบตัวศิษย์
ส่วนกลาง - ยื่นที่กองการประกอบโรคศิลปะ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ส่วนภูมิภาค - ยื่นที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่ตนมีภูมิลำเนาอยู่
2. ผู้ที่ยื่นใบมอบตัวศิษย์ไว้จนครบระยะเวลาการอบรมศึกษา หรือผู้ที่เคยสอบความรู้มาแล้วแต่สอบไม่ได้ หากย้ายภูมิลำเนาไปอยู่ ณ จังหวัดใด และ
ประสงค์จะสอบความรู้หรือขอสอบแก้ตัว ให้ยื่นหลักฐานต่อเจ้าหน้าที่ตามรายละเอียดในข้อ ก และ ข แล้วแต่กรณี โดยหมายเหตุท้ายคำขอขึ้น
ทะเบียนว่า เคยยื่นใบมอบตัวศิษย์ไว้ ณ จังหวัดใด และปี พ.ศ. ใด ด้วย

1 ความคิดเห็น: