วันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ชมรมครูแพทย์แผนไทย: ยินดีเผยแพร่ สื่อการสอนเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย

ชมรมครูแพทย์แผนไทย: ยินดีเผยแพร่ สื่อการสอนเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย

คัมภีร์ปฐมจินดา ลักษณะสตรีดีและชั่ว รสน้ำนมดีและชั่ว

http://khaowongthong.blogspot.com

แนะนำหนังสือสำหรับครูแพทย์แผนไทย

ผมเห็นว่าเป็นหนังสือดีเล่มหนึ่งที่ครูแพทย์แผนไทย ควรอ่านก่อนไปสอนเภสัชกรรมไทยครับ
                                            
                                           บทนำเขียนโดย อาจารย์หมอวิชัย
   
                                                   
                     
  ภายในมีหลากหลายเรื่องราว เกี่ยวกับยาสมุนไพรหลายชนิด ผมจะนำเนื้อหาและภาพมาลงบ่อยๆครับ
( ภาพดาวนฺ์โหลดช้ามาก ) สมาชิกท่านไหนมีข้อแนะนำบอกผมด้วยนะครับ

                                         

ยินดีเผยแพร่ สื่อการสอนเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย

ครูแพทย์แผนไทยที่ยังขาดสื่อการสอนเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย เช่น powerpoint หรือเอกสารหนังสืออะไร ก็บอกได้ครับ ( กรุณาฝากข่าวที่ " ความคิดเห็น" )

หากของผมมีและท่านต้องการเรื่องอะไร ยินดีเผยแพร่ครับ ทุกสาขาครับ
เช่น หนังสือแพทย์ศาสตร์นิทเทส ของขุนนิทเทศ,ตำราการแพทย์ไทยเดิม,ศัพท์แพทย์ไทย
และหนังสือเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย สมุนไพรอื่นๆ



                                     ซีดีโปรแกรม POWERPOINT ก็มีหลายชุด เช่น

                               

วันพฤหัสบดีที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การศึกษาวิชาแพทย์ ในสมัยเก่าก่อนดึกดำบรรพ์

การศึกษาวิชาแพทย์ ในสมัยเก่าก่อนดึกดำบรรพ์ 1

การอัญเชิญประวัติคัมภีร์แพทย์ อันเป็นตำรายาไทยหลายสมัยต่อมา ซึ่งสถิต ณ สถานที่ต่างกันมาชุมนุมไว้ในตำราเล่มนี้นั้น แม้แต่เพียงนามของพระคัมภีร์ก็เป็นการลำบากมาก เพราะการหาหลักฐานที่เกิดผู้เรียบเรียง และตำราเล่มใดเกิดก่อนหลังเมื่อใด ย่อมสุดปัญญาที่จะค้นคว้าหามาให้ถี่ถ้วนบริบูรณ์ จึงนำมกล่าวไว้ เฉพาะที่พอจะสอบสวนรวบรวมได้ โดยบอกลักษณะพระคัมภีร์นั้นๆ เพียงย่อ ๆ ทั้งนี้เพราะเห็นความจำเป็นว่า จะต้องเป็นความรู้พิเศษไว้ประดับสติปัญญา บรรดาท่านที่สนใจศึกษาวิชาเภสัชกรรมแผนโบราณ ซึ่งว่าโดยหน้าที่แล้ว เภสัชกรผู้ปรุงยา ต้องเรียนให้รู้จักตำราพระคัมภีร์แพทย์ต่างๆ ของดั้งเดิมทั้งหมดว่ามีกี่เล่ม ว่าด้วยโรคอะไรบ้าง แม้ว่าไม่ได้ใช้ตำรานั้น ก็ควรทรงไว้เป็นความรู้รอบตัวก็ยังดี จะได้ไม่ทำให้ท่านลืมเลือนตำราที่เคยมีชื่อเสียงมาแล้ว และยังคงกระจัดกระจายอยู่ถูกทำลายหายสูยไปง่าย ๆ อีกประการหนึ่ง เกรงว่าท่านนักศึกษารุ่นใหม่จะถูกหาว่า ท่านเป็นหมอไทย ที่ไม่รู้จักตำรายาไทย
อนึ่ง คำว่า พระคัมภีร์แพทย์ คัมภีร์แพทย์ พระตำราและตำราขอให้ผู้ศึกษาเข้าใจว่า ตามที่กล่าวไว้หลายแห่งไม่เหมือนกันนี้ แล้วแต่ความเหมาะสม คือตำรายา เดิมได้จารเป็นอักขระลงในใบลานเหมือนกับพระคัมภีร์ธรรมะ (คัมภีร์เทศน์) เมื่อเป็นเล่มลาน (ผูก) บรรจุวิชาแพทย์ จึงเรียกว่า คัมภีร์แพทย์ คัมภีร์เดิมโดยมากเป็นภาษาขอม-มคธ ท่านอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญได้แปลคัดลอกใหม่ลงในสมุดข่อย โบราณจึงเปลี่ยนแปลงเรียกใหม่ว่า ตำรา การที่ใช้คำนำ “พระ” ลงไปข้างหน้านั้น เหตุด้วยคัมภีร์แพทย์มีลักษณะคล้ายพระคัมภีร์ธรรมะอย่างหนึ่ง ท่านอดีตแพทย์เห็นควาามศักดิ์สิทธิ์ของตำรานั้นจึงเรียกนามยกย่องด้วยความเคารพบูชาอย่างหนึ่ง สมัยนั้นเจ้านายก็เป็นแพทย์กันแทบทุกพระองค์ ตำรับตำราได้ถูกนำถวายไว้ในวังมาก เมื่อได้ประทานใครมาก เป็นพระตำราไปหมด แม้ที่สุดพระมหากษัตริย์ก็ยังทรงมี คลังยา คลังพระตำรา ซึ่งเรียกว่าคลังพระตำราข้างพระที่ และยังมีคำต่อท้ายว่าหลวงลงไปอีก ขอท่านผู้ศึกษาจงเข้าใจว่า พระคัมภีร์แพทย์ พระตำราหลวง ก็คือ ตำราแพทย์นั่นเอง
การศึกษาวิชาแพทย์ ในสมัยเก่าก่อนดึกดำบรรพ์นั้น สานุศิษย์ผู้ที่จะได้รับการถ่ายทอดวิชาจากท่านครูอาจารย์นั้น ต้องอาศัยการต่อปากต่อคำจากท่านอาจารย์เองแล้วก็นำมาท่องบ่นจนขึ้นใจ ทั้งต้องเป็นผู้ปรนนิบัติ รับใช้ใกล้ชิดติดหน้าตามหลังเรียกว่าศิษย์ต้นกุฏิคอยช่วยปฎิบัติหัดงานทุกอย่างตลอดจนการนวดเฟ้นให้อาจารย์ และการเรียนวิชาการแพทย์ ครั้งนั้น มิใช่ของง่าย ผู้ศึกษาต้องตรากตรำทำงานทั้งส่วนตัว และให้อาจารย์กับท่องจำวิชา นับว่าต้องเป็นผู้มีปฏิภาณเฉียบแหลมจริง ๆ จึงจะจดจำนำมาใช้ได้ถูกต้อง แม้กระนั้นก็ยังมีท่าน บุรพาจารย์ผู้สละความสุขจากบ้าน เที่ยวจาริกเสาะหาเวชวิชาการ ศึกษามาด้วยความลำบากตรากตรำมาตั้งหลาย ๆ ปี จนเป็นผู้ทรงคุณธรรมสามารถท่องบ่น จดจำถ่ายทอดวิชาแพทย์เหล่านั้นต่อมา จนถึงสมัยที่อักขระอักษรเจริญแล้ว ท่านจึงได้จดจารึกบันทึกไว้ ณ ที่ต่าง ๆ เช่น แกะไว้ในแผ่นหินและโลหะเป็นต้น ความหวังของท่านก็เพื่อจะให้วิชาแพทย์นั้นคงทนถาวรไม่เสื่อมสูญ ดุจแผ่นหินและโลหะนั้นๆ วิชาแพทย์จึงได้แพร่หลายมาถึงสมัยคัมภีร์ใบลานและสมุดข่อย แล้วคัดลอกมาลงไว้เรียกว่าคัมภีร์ หรือตำราอันว่าพระคัมภีร์แพทย์นั้นท่านกล่าวไว้ จำแนกไว้ สุดแต่ความเชี่ยวชาญของพระอาจารย์แต่ละท่าน มีกล่าวถึงอาการของโรค วิธีรักษา ตำรายาที่ต้องใช้ และสรรพคุณยาไว้พร้อมมูล แม้จะมีการกล่าวไว้ซ้ำกัน บ้างก็คนละทัศนะ ซึ่งมีจุดหมายปลายทางอย่างเดียวกัน ดังเช่น

๑. พระคัมภีร์ประถมจินดา มีหลายบท เช่นกล่าวถึงพรหมปุโรหิต แรกปฐมกาล-การ ปฏิสนธิแห่งทารก-กำเนิดโลหิตระดูสตรีครรภทวารกำเนิด โรคกุมารและยารักษา
๒. พระคัมภีร์ฉันทศาสตร์ กล่าวถึง จรรยาของแพทย์ทับ ๘ ประการ-โรคซาง-สมุฏฐาน แห่งไข้-อติสารมรณญาณสูตร
๓. พระคัมภีร์ธาตุวิภังค์ กล่าวถึงกองธาตุพิการตามฤดู
๔. พระคัมภีร์สมุฏฐานวินิจฉัย กล่าวถึงการค้นหาต้นเหตุการเกิดของโรค
๕. พระคัมภีร์โยคสาร (แพทยาลังกา) ของอมรเสกมหาอำมาตย์ กล่าวถึงรสยาและ ลักษณะนิมิตร้ายดี
๖. พระคัมภีร์มหาโชตรัต ของพระอาจารย์ท้าวสหัมบดีพรหมกล่าวถึงโรคระดูสตรี
๗. พระคัมภีร์ชวดาร กล่าวถึงพิษอาหารทำให้ลมโลหิตกำเริบ
๘. พระคัมภีร์โรคนิทาน ของพระอาจารย์โกมารภัจ กล่าวถึงกองธาตุทั้งสี่มีเกิน-หย่อน หรือพิการ
๙. พระคัมภีร์ธาตุวิวรณ์ กล่าวถึงกองธาตุทั้งสี่ โรคโลหิตระดูสตรี
๑๐. พระคัมภีร์ธาตุบรรจบ ของพระอาจารย์โกรมารภัจกล่าวถึงโรคอุจจารธาตุ
๑๑. พระคัมภีร์มุจฉาปักขัณฑา กล่าวถึงโรคปัสสาวะมุตกิดมุตฆาต
๑๒. พระคัมภีร์ตักกสิลา กล่าวถึงบรรดาไข้พิษทั้งปวง
๑๓. พระคัมภีร์กษัย กล่าวถึงโรคกษัย ๒๖ ประการ
๑๔. พระคัมภีร์อภัยสันตา กล่าวถึงกำเนิดไข้ โรคซางและตาทุกชนิด
๑๕. พระคัมภีร์มัญขุสารวิเชียร กล่าวถึงโรคลม ๑๐ ประการ
๑๖. พระคัมภีร์อติสาร กล่าวถึงโรคอุจจาระร่วง
๑๗. พระคัมภีร์มุขโรค กล่าวถึงโรคในปากและคอ ๑๙ ประการ
๑๘. พระคัมภีร์จะละนะสังคหะ กล่าวถึงลักษณะอุจจารธาตุ ๔ ประการ
๑๙. พระคัมภีร์วารโยคสาร กล่าวถึงลักษณะนิมิตดีร้าย ๓๐ ประการ (คล้ายวรโยคสาร)
๒๐. พระคัมภีรธาตุอภิญญา กล่าวถึงลักษณะโรคที่เกิดกับธาตุ ๔ มี ๓ ประการ
เขียนโดย www.boelan.com

วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ชมรมครูแพทย์แผนไทย

ขอเชิญครูแพทย์แผนไทย ทั้งอดีต ปัจจุบัน และครูแพทย์แผนไทยในอนาคต มารวมตัวกัน หรือร่วมแสดงความเห็น ข้อเสนอแนะ
ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการแพทย์แผนไทยทุกๆด้านด้วยจรรยาบรรณของครูแพทย์แผนไทย โดยไม่หวังจะได้ค่าตอบแทนเป็นทรัพย์สิน
แต่ได้ความสุขใจ


ชลิต
บว. บผ. บภ. พท.บ.